บริษัทชินต้าคอร์ปอเรชั่น ได้เข้าร่วมกิจกรรม MK Medical Grand Opening ที่จังหวัดกาญจนบุรี ในวันที่ 4 ธันวาคม 2565
บริษัทชินต้าคอร์ปอเรชั่น ได้เข้าร่วมกิจกรรม MK Medical Grand Opening ที่จังหวัดกาญจนบุรี ในวันที่ 4 ธันวาคม 2565
บริษัท ชินต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด ได้เข้าร่วมงานประชุมใหญ่สามัญ ประจำปี 2566 โดยในปีนี้จัดที่ อิมแพค อารีน่า เมืองทองธานี ในวันอาทิตย์ที่ 24 เมษายน 2566 และมีผู้เข้าร่วมงานจำนวนมากในปีนี้
เข้าหน้าร้อนเมืองไทยเข้ามาทุกที่ หลายคนท่านคงจะคิดถึงทะเล หรือสถานที่เที่ยวเย็นๆสบาย แต่อย่าฉล่าใจไปเพราะว่าช่วงหน้าร้อนนี้เป็นช่วงที่เชื้อโรคเติบโตได้ดี โดยเฉพาะเชื้อแบคทีเรีย เพราะฉะนั้นเราจึงควรระมัดระวังเชื้อโรคที่มากับหน้าร้อนเหล่านี้ด้วย เราจะพาไปดูกันว่ามีโรคอะไรบ้างที่ควรระวังช่วงหน้าร้อนนี้กัน
1.โรคอุจาระล่วงเฉียบพลัน
โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน เกิดจากการรับประทานอาหารหรือน้ำดื่มที่มีเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส โปโตซัว พยาธิ ทำให้มีการถ่ายอุจจาระเหลว ถ่ายเป็นมูกเลือด โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลันเป็นโรคที่พบบ่อยโดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีสุขอนามัยไม่ดีหรือเรียกว่าไม่สะอาดนั่นเอง ผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้จะถ่ายอุจจาระเหลวหรือถ่ายอุจจาระเป็นน้ำผู้ป่วยส่วนใหญ่มีอาการไม่รุนแรงและมักหายได้เอง ส่วนใหญ่แล้วจะพบในช่วงหน้าร้อนเพราะอากาศร้อนจะทำให้อาหารและน้ำดื่มเสียง่ายและทำให้เกิดเชื้อแบคทีเรีย ที่เป็นต้นเหตุของโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลันนั่นเอง
2.โรคอาหารเป็นพิษ
ติดต่อโดยการรับประทานอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อ มักพบในอาหารปรุงสุกๆ ดิบๆ ซึ่งมีอยู่ทั้งในเนื้อสัตว์ ไข่ รวมทั้งอาหารกระป๋อง อาหารทะเล นมที่ไม่ผ่านการฆ่าเชื้อ หรืออาหารที่ปรุงทิ้งไว้เป็นเวลานาน ซึ่งคนที่ได้รับเชื้อเข้าไปมักมีไข้ ปวดท้อง ซึ่งเชื้อที่ได้รับสามารถทำให้เกิดการอักเสบที่กระเพาะอาหารและลำไส้ได้ จึงทำให้มีอาการปวดท้อง ปวดเมื่อย คลื่นไส้อาเจียน อุจจาระร่วงด้วย หรือการติดเชื้อจากอวัยวะอื่น เช่น ข้อกระดูก ถุงน้ำดี หัวใจ ปอด ไต เยื่อหุ้มสมอง ไปจนถึงโลหิตเป็นพิษ ซึ่งหากเกิดในทารก เด็กเล็ก ผู้สูงอายุ จะมีโอกาสทำให้ถึงขั้นเสียชีวิตได้เลยหล่ะค่ะ
3.โรคบิด
เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียหรืออะมีบา ซึ่งสามารถติดต่อได้ผ่านการรับประทานอาหาร ผักดิบ รวมถึงน้ำดื่มที่มีการปนเปื้อนเชื้อโรคด้วยนะคะ หากติดเชื้อก็มักจะมีไข้ ปวดท้องแบบปวดเบ่ง ถ่ายอุจจาระบ่อย และอาจทำให้อุจจาระมีมูกหรือมูกปนเลือดได้อีกด้วย
4.อหิวาตกฤโรค
เกิดจากเชื้ออหิวาตกโรค ซึ่งเป็นเชื้อแบคทีเรียที่ติดต่อจากอาหารหรือน้ำที่มีเชื้อโรคปนเปื้อนอยู่ ซึ่งหากติดเชื้อโรคนี้จะทำให้เราถ่ายอุจจาระเป็นน้ำคราวละมากๆ โดยไม่มีอาการปวดท้อง และมีอาการขาดน้ำและเกลือแร่อย่างรวดเร็ว เช่น กระหายน้ำ อ่อนเพลีย ปัสสาวะน้อย ชีพจรเต้นเร็ว ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดภาวะช็อก หมดสติจากการเสียน้ำ และในบางรายที่มีอาการรุนแรงมากๆ อาจถึงขั้นเสียชีวิตได้เช่นกันค่ะ
5.โรคไข้ไทฟอยด์ หรือ ไข้ลากสดาน้อย
อีกหนึ่งโรคที่สามารถติดต่อจากอาหารและน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อโรคเช่นกัน ซึ่งเจ้าโรคไข้ไทฟอยด์นี้จะทำให้ผู้ป่วยมีไข้ ปวดหัว ปวดเมื่อย เบื่ออาหาร และอาจท้องผูกหรือท้องเสียได้ นอกจากนี้เชื้อปนก็อาจปนออกมากับอุจจาระและปัสสาวะเป็นครั้งคราวได้ด้วย ทำให้เราเป็นพาหะนำโรคได้นั่นเองค่ะ
ในชีวิตประจำวันของเรานั้นปฏิเสธไม่ได้ว่า “ยา” เป็นปัจจัยสำคัญในชีวิตของเรา
แม้ยาสามารถใช้รักษาทำให้ผู้ป่วยหายป่วยและร่างกายรู้สึกดีขึ้นได้แต่สิ่งสำคัญคือ ยาทุกชนิดไม่ว่าจะได้มาจากการจ่ายยาของแพทย์ หรือยาที่หาซื้อเองตามร้านขายยาทั่วไปนั้นก็มีทั้งคุณประโยชน์ และอันตรายหากเราใช้ยาผิดประเภทหรือผิดวิธีเช่นกัน
หลักการใช้ยาที่ถูกต้องและปลอดภัย
1) ก่อนจะใช้ควรอ่านฉลากก่อนใช้ยาทุกครั้ง และปฎิบัติตตามอย่างเคร่งครัด
2) ใช้ยาให้ตรงกับโรค โดยปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ เพราะจะทำให้ไม่เป็นอันตราย
3) ใช้ยาให้ถูกวิธี เช่น ไม่แกะผงยาที่อยู่ในแคปซูลมาโรยแผล ยาชนิดที่ใช้ทาห้ามนำมารับประทาน เป็นต้น
4) ใช้ยาให้ถูกกับบุคคล ควรใช้ยาให้ถูกกับสภาพของบุคคลเพราะร่างกายของแต่ละคนไม่เหมือนกัน เช่น ยาที่ให้เด็กกินต้องมีปริมาณไม่เท่ากับผู้ใหญ่ ยาบางชนิดไม่ควรให้หญิงมีครรภ์กินเพราะอาจเป็นอันตรายต่อลูกในท้องได้
5) ใช้ยาให้ถูกขนาด ควรใช้ยาตามขนาดที่แพทย์หรือเภสัชกรกำหนดไว้ เพราะถ้าใช้เกินขนาดอาจเกิดอันตรายต่อร่างกาย หรือถ้าใช้น้อยไปอาจจะทำให้การรักษาโรคไม่ได้ผลดี
6) ใช้ยาให้ถูกเวลา ยาแต่ละชนิดจะกำหนดระยะเวลาที่ใช้ไว้