ดูแลกระดูกอย่างไรให้แข็งแรง

S__30760964

กระดูกเป็นแกนของร่างกาย มีความสำคัญต่อการพยุงอวัยวะต่างๆ รวมถึงท่าทางการยืน การเดิน และการทรงตัว โครงสร้างกระดูกที่แข็งแรงเกิดจากการทำงานของเซลล์กระดูกที่สมดุล คือมีกระบวนการสลายกระดูกเก่าที่อ่อนแอ และสร้างกระดูกใหม่ที่แข็งแรง และรับแรงกระแทกได้ดี แต่เมื่ออายุขึ้นเลข 3 กระบวนการดังกล่าวเริ่มเสียสมดุล การสร้างกระดูกใหม่ลดลง ทำให้กระดูกบาง  และมีความสามารถในการรับน้ำหนักตัวลดลง เสี่ยงต่อการแตกหักของกระดูกในระยะยาว ภาวะดังกล่าวเรียกว่า “โรคกระดูกพรุน”

ดูแลกระดูกอย่างไรให้แข็งแรง

1.เสริมแคลเซียม แคลเซียมเป็นแร่ธาตุหลักของโครงสร้างกระดูก เราทุกคนจำเป็นต้องได้รับแร่ธาตุแคลเซียมวันละ 800-1,200 มก. ต่อวัน ผู้ที่ต้องการบำรุงกระดูกควรเน้นการบริโภคอาหารประเภทผักใบเขียว นม โยเกิร์ต ถั่ว และงาหรือเลือกรับประทานจากผลิตภัณฑ์แคลเซียมเสริมอาหาร ที่ให้แคลเซียมอิสระสูง 600 มก. ต่อเม็ด

2.การออกกำลังกาย เป้นการกระตุ้นการทำงานของเซลล์กระดูกให้ทำงานได้ดี ซึ่งจะให้ผลดีแตกต่างกันไปในแต่ละวัย

PHOTO GALLERY

ข่าวสารและบทความ

การใช้ยาให้ถูกต้องและปลอดภัย

ในชีวิตประจำวันของเรานั้นปฏิเสธไม่ได้ว่า “ยา” เป็นปัจจัยสำคัญในชีวิตของเรา

แม้ยาสามารถใช้รักษาทำให้ผู้ป่วยหายป่วยและร่างกายรู้สึกดีขึ้นได้แต่สิ่งสำคัญคือ ยาทุกชนิดไม่ว่าจะได้มาจากการจ่ายยาของแพทย์ หรือยาที่หาซื้อเองตามร้านขายยาทั่วไปนั้นก็มีทั้งคุณประโยชน์ และอันตรายหากเราใช้ยาผิดประเภทหรือผิดวิธีเช่นกัน

หลักการใช้ยาที่ถูกต้องและปลอดภัย

1) ก่อนจะใช้ควรอ่านฉลากก่อนใช้ยาทุกครั้ง และปฎิบัติตตามอย่างเคร่งครัด

2) ใช้ยาให้ตรงกับโรค โดยปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ เพราะจะทำให้ไม่เป็นอันตราย

3) ใช้ยาให้ถูกวิธี เช่น ไม่แกะผงยาที่อยู่ในแคปซูลมาโรยแผล ยาชนิดที่ใช้ทาห้ามนำมารับประทาน เป็นต้น

4) ใช้ยาให้ถูกกับบุคคล ควรใช้ยาให้ถูกกับสภาพของบุคคลเพราะร่างกายของแต่ละคนไม่เหมือนกัน เช่น ยาที่ให้เด็กกินต้องมีปริมาณไม่เท่ากับผู้ใหญ่ ยาบางชนิดไม่ควรให้หญิงมีครรภ์กินเพราะอาจเป็นอันตรายต่อลูกในท้องได้

5) ใช้ยาให้ถูกขนาด ควรใช้ยาตามขนาดที่แพทย์หรือเภสัชกรกำหนดไว้ เพราะถ้าใช้เกินขนาดอาจเกิดอันตรายต่อร่างกาย หรือถ้าใช้น้อยไปอาจจะทำให้การรักษาโรคไม่ได้ผลดี

6) ใช้ยาให้ถูกเวลา ยาแต่ละชนิดจะกำหนดระยะเวลาที่ใช้ไว้

งานประชุมใหญ่สามัญสมาคมร้านยา ประจำปี 2564

บริษัท ชินต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด ได้เข้าร่วมงานประชุมใหญ่สามัญสมาคมร้านยา ประจำปี 2564 ที่ไบเทคบางนา ในวันที่ 17 กรกฎาคม 2564

เตรียมตัวให้พร้อมเมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุ

จะเตรียมความพร้อมอย่างไร? เมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุ

เมื่อมีอายุมากขึ้นร่างกายย่อมเสื่อมสภาพลงไปตามวัย การดูแลสุขภาพร่างกายจึงเป็นสิ่งสำคัญ การดูแลสุขภาพ ได้แก่
• รับประทานอาหารครบ 5 หมู่ ในปริมาณที่เหมาะสม
• ออกกำลังกายสม่ำเสมอ สัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง
• ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
• ตรวจร่างกายประจำปีสำหรับผู้ที่มีอายุ 30 ปีขึ้นไป ควรตรวจร่างกายอย่างน้อย 1 ครั้งต่อปี
• ลดหรืองดการดื่มสุรา การสูบบุหรี่

นอกจากการดูแลสุขภาพโดยทั่วไปแล้ว การกินอาหารเสริมสำหรับผู้สูงวัยก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง เนื่องจากผู้สูงอายุบางรายอาจรับประทานอาหารได้น้อยลงจนทำให้ได้สารอาหารไม่ครบถ้วน การกินอาหารเสริมจึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งได้ (ควรปรึกษาแพทย์เพิ่มเติม)

เรื่องอารมณ์และจิตใจ
การฝึกจิตใจให้สงบ เบิกบาน มีสติอยู่เสมอ เพื่อให้ผู้สูงอายุสามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ได้อย่างเข้มแข็ง เรียนรู้การบริหารความเครียด การให้ การปล่อยวาง และการรักผู้อื่นพร้อม ๆ กับการรักตัวเอง จะทำให้สามารถใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขและห่างไกลจากโรคต่าง ๆ โรคทางด้านจิตใจที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ เช่น ภาวะซึมเศร้า ซึ่งต้องคอยติดตามป้องกันไม่ให้เกิดภาวะเหล่านี้