PMS? รู้ทันอาการก่อนมีประจำเดือน

S__30679043

PMS (Premenstrual syndrome) คือกลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือนของผู้หญิง ซึ่งหญิงไทยในวัยเจริญพันธ์ พบว่าเข้าเกณฑ์การวินิจฉัย ของภาวะนี้ได้มากถึงร้อยลละ 20-40

สาเหตุของ PMS ยังไมาทราบเป็นที่แน่ชัด แต่คาดว่าเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนเพศหญิงคือ ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (Progesterone) และ เอสโตรเจน (Estrogen) ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงของสารสื่อประสาทในสมอง เซโรโทนิน (Serotonin) ช่วงหลังไข่ตก

อาการของ PMS อาจมีความรุนแรงแตกต่างกันไปในแต่ละคน โดยเกิดขึ้นเป็นประจำ ก่อนมีประจำเดือนประมาณ 1-2 สัปดาห์ อาการที่พบบ่อย เช่น ปวดท้อง ปวดเมื่อยหลัง ปวดศรีษะ ท้องอืด ถ่ายเหลว มีสิว หงุดหงิด โกรธง่าย อารมณ์ตึงเครียด และวิตกกังวล เป็นต้น ซึ่งจำนวนของผู้หญิงทั่วโลกคิดเป็น 75-95% จะมีอาการอย่างใดอย่างหนึ่งที่สัมพันธ์กับช่วงมีประจำเดือน โดยประกอบด้วยอาการทางด้านล่างกาย และ ทางอารมณ์ ซึ่งอาจเป็นสาเหตุให้ต้องหยุดงาน หรือก่อให้เกิดปัญหาทางด้านความสัมพันธ์กับคนรอบข้างได้

รู้ได้อย่างไรว่ามีอาการ PMS ไหม?

สามารถสังเกตได้จากอาการทางร่างกายที่เปลี่ยนไปต่อไปนี้ ปวดศรีษะ ปวดท้อง ถ่ายเหลว คัดตึงเตานม สิวขึ้นมากกว่าปกติ หรือ ตัวบวม อยากหารมากขึ้น ไม่เพียงแต่ร่างกายเท่านั้นที่มีการเปลี่ยนแต่ทางด้านจิตใจและอารมณ์ก็มีการเปลี่ยนแปลงด้วยเช่นกัน เช่น โศกเศร้าง่าย นอนไม่หลับ หรือ หงุดหงิดง่าย และวิตกกังวล

เมื่อสาวๆเข้าสู่ช่วง PMS แล้วจะหาวิธีการรับมือยังไง?

  1. ออกกำลังกาย
  2. ทำจิตใจให้ผ่อนคลาย
  3. นอนหลีบให้เพียงพอ เฉลี่ยวันละ 7-8 ชั่วโมง
  4. รับประทานผักและผลไม้ หลีกเลี่ยงอาหารและเครื่องดื่มเช่น ชา กาแฟ ของทอด อาหารรสจัด ของหวาน และงดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

 

 

 

 

 

PHOTO GALLERY

ข่าวสารและบทความ

ออกบูธสมาคมร้านยาที่ภาคอีสาน จังหวัดอุบลราชธานี

MK Medical Grand Opening

บริษัทชินต้าคอร์ปอเรชั่น ได้เข้าร่วมกิจกรรม MK Medical Grand Opening ที่จังหวัดกาญจนบุรี ในวันที่ 4 ธันวาคม 2565

การใช้ยาให้ถูกต้องและปลอดภัย

ในชีวิตประจำวันของเรานั้นปฏิเสธไม่ได้ว่า “ยา” เป็นปัจจัยสำคัญในชีวิตของเรา

แม้ยาสามารถใช้รักษาทำให้ผู้ป่วยหายป่วยและร่างกายรู้สึกดีขึ้นได้แต่สิ่งสำคัญคือ ยาทุกชนิดไม่ว่าจะได้มาจากการจ่ายยาของแพทย์ หรือยาที่หาซื้อเองตามร้านขายยาทั่วไปนั้นก็มีทั้งคุณประโยชน์ และอันตรายหากเราใช้ยาผิดประเภทหรือผิดวิธีเช่นกัน

หลักการใช้ยาที่ถูกต้องและปลอดภัย

1) ก่อนจะใช้ควรอ่านฉลากก่อนใช้ยาทุกครั้ง และปฎิบัติตตามอย่างเคร่งครัด

2) ใช้ยาให้ตรงกับโรค โดยปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ เพราะจะทำให้ไม่เป็นอันตราย

3) ใช้ยาให้ถูกวิธี เช่น ไม่แกะผงยาที่อยู่ในแคปซูลมาโรยแผล ยาชนิดที่ใช้ทาห้ามนำมารับประทาน เป็นต้น

4) ใช้ยาให้ถูกกับบุคคล ควรใช้ยาให้ถูกกับสภาพของบุคคลเพราะร่างกายของแต่ละคนไม่เหมือนกัน เช่น ยาที่ให้เด็กกินต้องมีปริมาณไม่เท่ากับผู้ใหญ่ ยาบางชนิดไม่ควรให้หญิงมีครรภ์กินเพราะอาจเป็นอันตรายต่อลูกในท้องได้

5) ใช้ยาให้ถูกขนาด ควรใช้ยาตามขนาดที่แพทย์หรือเภสัชกรกำหนดไว้ เพราะถ้าใช้เกินขนาดอาจเกิดอันตรายต่อร่างกาย หรือถ้าใช้น้อยไปอาจจะทำให้การรักษาโรคไม่ได้ผลดี

6) ใช้ยาให้ถูกเวลา ยาแต่ละชนิดจะกำหนดระยะเวลาที่ใช้ไว้