PMS (Premenstrual syndrome) คือกลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือนของผู้หญิง ซึ่งหญิงไทยในวัยเจริญพันธ์ พบว่าเข้าเกณฑ์การวินิจฉัย ของภาวะนี้ได้มากถึงร้อยลละ 20-40
สาเหตุของ PMS ยังไมาทราบเป็นที่แน่ชัด แต่คาดว่าเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนเพศหญิงคือ ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (Progesterone) และ เอสโตรเจน (Estrogen) ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงของสารสื่อประสาทในสมอง เซโรโทนิน (Serotonin) ช่วงหลังไข่ตก
อาการของ PMS อาจมีความรุนแรงแตกต่างกันไปในแต่ละคน โดยเกิดขึ้นเป็นประจำ ก่อนมีประจำเดือนประมาณ 1-2 สัปดาห์ อาการที่พบบ่อย เช่น ปวดท้อง ปวดเมื่อยหลัง ปวดศรีษะ ท้องอืด ถ่ายเหลว มีสิว หงุดหงิด โกรธง่าย อารมณ์ตึงเครียด และวิตกกังวล เป็นต้น ซึ่งจำนวนของผู้หญิงทั่วโลกคิดเป็น 75-95% จะมีอาการอย่างใดอย่างหนึ่งที่สัมพันธ์กับช่วงมีประจำเดือน โดยประกอบด้วยอาการทางด้านล่างกาย และ ทางอารมณ์ ซึ่งอาจเป็นสาเหตุให้ต้องหยุดงาน หรือก่อให้เกิดปัญหาทางด้านความสัมพันธ์กับคนรอบข้างได้
รู้ได้อย่างไรว่ามีอาการ PMS ไหม?
สามารถสังเกตได้จากอาการทางร่างกายที่เปลี่ยนไปต่อไปนี้ ปวดศรีษะ ปวดท้อง ถ่ายเหลว คัดตึงเตานม สิวขึ้นมากกว่าปกติ หรือ ตัวบวม อยากหารมากขึ้น ไม่เพียงแต่ร่างกายเท่านั้นที่มีการเปลี่ยนแต่ทางด้านจิตใจและอารมณ์ก็มีการเปลี่ยนแปลงด้วยเช่นกัน เช่น โศกเศร้าง่าย นอนไม่หลับ หรือ หงุดหงิดง่าย และวิตกกังวล
เมื่อสาวๆเข้าสู่ช่วง PMS แล้วจะหาวิธีการรับมือยังไง?
- ออกกำลังกาย
- ทำจิตใจให้ผ่อนคลาย
- นอนหลีบให้เพียงพอ เฉลี่ยวันละ 7-8 ชั่วโมง
- รับประทานผักและผลไม้ หลีกเลี่ยงอาหารและเครื่องดื่มเช่น ชา กาแฟ ของทอด อาหารรสจัด ของหวาน และงดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์